วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

อินทนนท์



 
เราควรมาทราบเกี่ยวกับความเป็นมาของ ดอยอินนนท์กันดีกว่าค่ะ
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวงหรือ ดอยอ่างกาคำว่าดอยหลวงหมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกาเมื่อครั้งที่ป่าไม้ทางภาคเหนือยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครอบครองนคร ต่างๆ นั้นในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก         โดยเฉพาะดอยหลวงพระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่าหากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอา อัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้ บนยอดดอยหลวงด้วย ต่อมา คำว่าดอยหลวงก็ถูกเปลี่ยนเป็น ดอยอินทนนท์ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่ป่าดอยอิน ทนนท์แห่งนี้เป็นป่า 1 ใน 14 แห่ง ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ต่อมาได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ 103 (พ.ศ.2502) ออกตามความพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2481 ให้ป่าดอยอินทนนท์ในท้องที่ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2508 กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2508 (ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง) ให้นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรี ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2515 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายปรีดา กรรณสูต) ได้มีบัญชาให้นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางเฮลิคอปเตอร์เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่าป่าดอยอินทนนท์มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วม     ฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือที่      กห0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน 2515 เสนอหัวหน้าคณะปฏิวัติ (จอมพลถนอม กิตติขจร)ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการได้

พอเริ่มปีใหม่เข้ามา หลายคนคงเตรียมตัววางแผนที่จะท่องเที่ยว เก็บข้าวเก็บของลงกระเป๋าแน่ ๆ และสถานที่น่าท่องเที่ยวตอนนี้เห็นจะเป็นทางภาคเหนือ เนื่องจากช่วงต้น ๆ ปีอย่างนี้ทางภาคเหนือยังคงอากาศหนาวเย็น บางที่อากาศก็กำลังเย็นสบายทีเดียว ชวนให้ไปสัมผัสซึมซับกับบรรยากาศสุด ๆ ...

ถ้าจะพูดถึงสถานที่ที่นักเดินทาง ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่น อยากจะไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต ชื่อของ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรือ ดอยอินทนนท์ ก็น่าจะอยู่ในลิสต์อันดับต้น ๆ เพราะไม่ว่าจะรักการเที่ยวแบบชิลล์ ๆ หรือลุย ๆ สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตแห่งนี้ ก็พร้อมต้อนรับด้วยความงดงามของธรรมชาติอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าใหญ่ดึกดำบรรพ์ (Old growth forest) สภาพอากาศที่หนาวเย็นและชุ่มฉ่ำตลอดทั้งปี ทำให้มีมอส เฟิร์นและพืชอิงอาศัย (epiphyte) ชนิดอื่น ๆ ขึ้นปกคลุมตามลำต้นอย่างหนาแน่น ใครที่เดินทางมาเที่ยวจะต้องประทับใจกับสีสันของใบไม้ป่าผลัดใบ ที่กำลังจะผลัดใบในช่วงปลายปี 



ส่วนต้นปี ดอกไม้นานาชนิดก็บานสะพรั่งอดไม่ได้ที่จะกดชัตเตอร์ฝากภาพสวย ๆ ฝากเพื่อน หรือจะเลือกชมความโล่งของป่าทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง หน้าผาอันสูงชัน ทำให้มองเห็นสภาพภูมิประเทศได้กว้างไกล เป็นแหล่งที่อยู่ที่สำคัญของกวางผาและนกชนิดต่าง ๆ ก็สนุกไม่แพ้กัน






การเดินทาง
           จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

          เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 1 (สีเหลือง) 




  เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) ... ดูแผนที่เส้นทางที่ 2 (สีเขียว) 




พื้นที่ท่องเที่ยวและนันทนาการที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ถนนสายยอดดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) และเส้นทางเดินป่าต่าง ๆ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเลือกไปตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติตามเส้นทางต่าง ๆ ได้ดังนี้ค่ะ





ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009)

ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ ใครมาแล้วไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวไหนก่อนดีขอให้แวะที่นี่เอาฤกษ์เอาชัยก่อน เพราะเขามีการฉายสไลด์มัลติวิชั่นของอุทยานและเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์คอย ให้บริการกับนักท่องเที่ยว ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ หรืออีกชื่อว่า กม.31 ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ไว้คอยบริการรับจองบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ สำหรับบ้านพักและที่กางเต้นท์จะอยู่อีกบริเวณหนึ่ง ทางเข้าอยู่ทางด้านขวามือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 200 เมตร

น้ำตกแม่ยะ น้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสวยที่สุดของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล ที่นี่เราสามารถกางเต้นท์พักแรมที่น้ำตกได้ แต่อย่าลืมติดต่อขอสถานที่กางเต้นท์กับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ด้วยล่ะ, น้ำตกแม่กลาง เป็นจุดแรกของประตูเข้าสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ น้ำตกจากหน้าผาสูงประมาณ 100 เมตร ไหลพวยพุ่งมาสู่โกรกเขา ซึ่งเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีชื่อว่า วังน้อยและวังหลวง ใครไปเที่ยวช่วงฤดูฝนระวังหน่อยเพราะน้ำไหลแรงและขุ่นข้นมากจ้ะ 


 
ถ้ำบริจินดา ถ้ำขนาดใหญ่ อยู่ในเทือกเขาดอยอินทนนท์ ใกล้น้ำตกแม่กลาง ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า "นมผา" และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้นมัสการ นอกจากนั้น ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุแสงสว่างลอดเข้ามาได้ สามารถมองเห็นภายในได้ถนัด ก่อนจะถึงปากถ้ำจะมีป้ายขนาดใหญ่ตั้งอยู่, น้ำตกวชิรธาร เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ตัวน้ำตกอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า "ผาม่อนแก้ว" หรือในภายหลังเรียกว่า "ผาแว่นแก้ว"



น้ำตกสิริธาร  นอกจากความสวยงามของน้ำตกแล้ว ที่นี่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิดรวมทั้งปลาหายาก เช่นปลาค้างคาว ป่าบริเวณนี้เป็นป่าเต็งรังผสมสนเขาและป่าดิบแล้ง นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งสมุนไพรที่สำคัญอีกด้วย, น้ำตกสิริภูมิและสวนหลวงสิริภูมิ  เดิมเรียกว่า "เลาลึ" ตามชื่อของหมู่บ้านม้ง ซึ่งอาศัยอยู่ใกล้ ๆ น้ำตก ภายหลังเปลี่ยนชื่อตามพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ปัจจุบัน มีการจัดภูมิทัศน์ สวนหลวงสิริภูมิ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอินทนนท์ มีการจัดเก็บค่าเข้าชม ผู้ใหญ่คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท



   
 พระธาตุนภเมทนีดลและพระธาตุนภพลภูมิสิริ เป็นพระธาตุที่ทางกองทัพอากาศร่วมกับพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ ร่วมใจสร้างถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช 2530 และเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535 โดยรอบบริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ทั้ง 2 องค์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของดอยอินทนนท์โดยรอบได้อย่างชัดเจน พระมหาธาตุทั้ง 2 องค์นี้ มีรูปทรงคล้ายคลึงกัน คือ มีฐานเป็นรูป 12 เหลี่ยม มีระเบียงแก้วโดยรอบเป็น 2 ระดับ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปบูชา


ยอดสุดดอยอินทนนท์
เป็นยอดดอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูง 2,599 เมตร มีสภาพอากาศ หนาวเย็นตลอดปี ในพื้นที่บริเวณี่นี้มี "อ่างกาหลวง" เป็นหนองน้ำซับในหุบเขาซึ่งพบต้นข้าวตอกฤาษีขึ้นตาม พื้นดินและคาคบไม้มีสีสันสวยงาม รวมทั้งพืชพันธุ์ไม้หายากหลายชนิด เช่น กุหลาบพันปี ซึ่งจะออกดอกใน ช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ ทุกปี นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจ้าอินทวิชยานนท์ อดีตเจ้าเมืองเชียงใหม่ และเป็นที่ตั้งของสถานีเรด้าของกองทัพอากาศไทย


 ถนนคนเดิน ณ ดอยอินทนนท์


รอบดึกต้อง"เก็บตกที่ถนนคนเดิน เดินชิวซื้อของ ชิมขนมน่าๆๆ สุขสบายใจ"



สถานที่พัก ณ ดอยอินทนนท์


ทัชสตาร์  รีสอร์ท



เดอะ ไฉไล ออร์คิด รีสอร



รีวิวดอยอินทนนท์


                                        



ผู้จัดทำทริป ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่


นางสาวลลิตา  ม่ันคง  


นางสาวสกุลตรา  เวรไธสง